อังกฤษเคยประหารชีวิตกษัตริย์ | พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1

Reading Time: 3 minutes

รู้กันไหม ? ประเทศที่รักธรรมเนียมถือตัวอย่างอังกฤษ เคยประหารกษัตริย์โดยการตัดพระเศียรด้วยนะ ผ่าน สส.ในรัฐสภาลงมติกัน ! เรื่องอะไร มาอ่านกัน!

เรื่องของเรื่องเกิดสมัย พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1  มีความขัดแย้งกัน ระหว่าง ระบบกษัตริย์อันสูงส่ง และประชาชน

รุนแรงถึงขั้นล้มเลิกระบอบการมีกษัตริย์ปกครองประเทศไปช่วงหนึ่ง และหันมาใช้ระบบประชาชนปกครองประเทศ พูดให้เห็นภาพก็เปลี่ยนมาใช้เป็นระบบ ประธานาธิบดี ในระยะเวลาสั้น ๆ

เรื่องก็คืออ

คิงชาร์ลส์ที่ 1 เหมือน อยู่ในจังหวะที่ไม่ไหวของประชาชนต่อระบบกษัตริย์ของอังกฤษ แบบไม่ใช่เพราะตัวคิงชาร์ลส์เองล้วน ๆ เพราะต้องย้อนไปถึงยุค คิงเฮนรี่ที่ 8 กันเลยทีเดียว

เฮนรี่ที่ 8 ประวัติน่าสนใจมาก

เฮนรี่ที่ 8
เฮนรี่ที่ 8

เฮนรี่ที่ 8 ขึ้นชื่อว่า เป็น คิงที่มี ควีนเยอะที่สุดคนหนึ่ง หลังจากครองราชย์ คิงเฮนรี่ต้องแต่งงานกับ คู่หมั้นของพี่ชาย (เพราะพี่ชายสวรรคตก่อนได้ครองราชย์ เฮนรี่ที่8 เลยต้องครองราชย์แทนและแต่งงานแทนด้วย) แต่งงานกับเจ้าหญิงแคทรินจากสเปน

แต่หลังจากแต่งงาน คิงเฮนรี่ ก็ไปชอบคอกับแอนโบลีน
แอนโบลีนแกก็น่ารักครับ พอชอบกันแล้ว ก็เลยอยากเป็นควีนด้วยไม่หวังสูง

ฝั่งซ้าย แอนโบลีน ฝั่งขวา แคทริน

พอความอยากเป็นควีนนี้ก็เลยเกิดเรื่องตามมาครับ เพราะคนที่เป็นควีนอยู่ในเวลานั้นก็คือ แคทริน ผู้ที่ซึ่งเคร่งศาสนามาก การหย่ากันจึงเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับแคทริน ประสันตะปาปาก็ต่อต้านการหย่าร้างตลอด

เพราะด้วยเหตุผลทางศาสนานี้ คิงเฮนรี่ก็เลยแก้ปัญหาโดยการ ตั้งนิกายทางศาสนาใหม่ แล้วก็เอาตัวเองเป็นประมุขของนิกายมันซะเลย ง่าย ๆ

ซึ่งในข้อนี้ คิงเฮนรี่ ได้คะแนนนิยมจาก ประชาชนอังกฤษไปพอสมควรเพราะว่า ประชาชนไม่ค่อยชอบพระสันตะปาปาอยู่แล้ว หลังมีนิกายของ คิงเฮนรี่ ประชาชนก็พากันย้ายนิกายมาอยู่กับ คิงเฮนรี่กันใหญ่

พอราชการผ่านไป ๆ

ไปอยู่ถึงยุค ควีนแมรี่

(พูดให้เห็นภาพ ควีนแมรี่ เป็นลูกระหว่าง คิงเฮนรี่ที่8 กับ ควีนแคทริน
| ส่วน ควีนอริซาเบธที่ 1 เป็นลูกของ คิงเฮนรี่ที่8 กับ แอนโบลีน ที่ผมเล่าก่อนหน้านี้)

ควีนแมรี่ เป็นยุคทีสร้างความเจ็บปวดให้กับประชาชนได้มากที่สุดยุคหนึ่ง ในเรื่องของศาสนา ด้วยความที่เคร่งศาสนาเหมือนคุณแม่ แคทริน

แมรี่
ควีนแมรี่

ควีนแมรี่ ถูกขนานนามว่า “แมรี่ผู้บ้าเลือด” ในเวลาต่อมา เพราะสั่งบังคับประชาชนที่ไม่นับถือนิกายคาทอลิก (โดยเฉพาะโปรเตสแตนต์) ให้มานับถือนิกายคาทอลิก โดยการสั่งฆ่าและเผาทั้งเป็นสำหรับผู้ที่ไม่ยอม

แต่โชคดีของคนอังกฤษ ที่ควีนแมรี่ครองราชย์ได้ไม่นานก็สวรรคตไป และควีนอริซาเบธที่ 1 ก็ขึ้นแทนในเวลาต่อมา ซึ่งประชาชนก็น่าจะเบาใจไปได้เพราะควีนอลิซาเบธที่ 1เป็น คริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์

ควีนเอลิซาเบธที่ 1″ราชินีพรหมจารี” (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ)

มาถึงยุคที่ประชาชนบอก ทนไม่ไหวแล้ว ให้มันจบที่ยุคของเราเถอะ!

ก็คือยุคของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 นั้นเอง

บอกเลยว่าสนุกมาก!!!

จะว่าไปชาร์ลส์ที่ 1 ไม่ได้เลวร้ายมากนักในหลาย ๆ ด้าน เพราะเศรษฐกิจของประเทศก็ไม่ได้แย่ แต่ชาร์ลส์แค่ไม่เป็นที่รักของประชาชนเท่านั้นเองครับ ด้วยความที่มีความห่างกับประชาชนประมาณหนึ่ง แล้วถือตัวว่าตัวเองสูงส่งกว่าประชาชนเยอะด้วย

Charles I

ถือว่าตัวเองเป็นเทวสิทธิ์ เปรียบตัวเองเหมือนเทพ อยากทำอะไรก็ทำ อยากได้อะไรก็ต้องได้

3 สาเหตุที่ทำให้เป็นจุดแตกหักระหว่างระบบกษัตริย์กับประชาชนในยุคนั้นก็คือ

  1. ไม่เห็นหัวประชาชนโดยทำรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิและอำนาจของประชาชน
  2. ลดบทบาทขุนนางเพิ่มอำนาจกษัตริย์
  3. เรื่องศาสนา อยากจะล้มล้างนิกายโปรเตสแตนท์

3 ปัญหานี้ถูกนำมาขยี้ ซ้ำ ๆ ในรัฐสภาของอังกฤษ

โดย สส. โจมตีกันในเรื่องนี้อย่างหนาหู รวมถึง สส.ก็ยังโจมตีคนสนิทของกษัตริย์ อย่าง ดยุ๊คแห่งบัคกิ้งแฮม ที่เป็นที่ปรึกษาคนโปรดของคุณพ่อ (คิงเจมส์) และเป็นคนสนิทของคิงชาร์ลส์ในเวลาถัดมา

คิงชาร์ลส์ ขอให้สภาอนุมัติเงินให้ไปทำการสู้รบหลายครั้ง

แต่สภาก็เห็นว่าใช้เงินภาษีของประชาชนสิ้นเปลืองเกินไป และยังเห็นว่าดยุ๊คแห่งบัคกิ้งแฮมนำทัพทีไรก็ล้มเหลว เลยโจมตีว่าเป็นกบฏต่ออังกฤษ

อีกปัจจัยหนึ่งที่ รัฐสภาต่อต้านกษัตริย์กันเยอะเพราะสส.ส่วนใหญ่ คือ พิวริแตน หรือคนที่นับถือนิกาย โปรเตสแตนต์ ที่พระองค์ชาร์ลส์จะล้มนิกายนี้ด้วยแหละครับ

คิงชาร์ลส์ที่ 1 ก็เลยเห็นท่าไม่ดีที่คนสนิทของตน โดนด่าอยู่บ่อย ๆ ก็เลยสั่งให้ยกเลิกสภาไปเลยสั้น ๆ (คศ.1626)

แต่ภายหลังก็เปิดให้มีการประชุมสภาอีกครั้ง (คศ.1628)

คิงชาร์ลส์ก็ต้องการเงินเพิ่ม ให้สภาอนุมัติให้ไปรบอีกครั้ง ทางรัฐสภาก็เริ่มมีอำนาจมากกว่ากษัตริย์บ้างนิดหน่อยแล้วในเวลานั้น เลยขอร้องให้ คิงทำสัญญากับรัฐสภาว่า

  1. จะไม่ขึ้นภาษีประชาชน หากสภาไม่เห็นด้วย
  2. จะไม่จบประชาชนเข้าคุกโดยไม่มีสาเหตุ
  3. จะไม่ส่งทหารไปพักอยู่กับประชาชน
  4. จะไม่ออกกฏอัยการศึกในเวลาที่ปกติ

คิงชาร์ลส์ก็บอกว่า ได้ ๆ และยอมทำสัญญาด้วย แต่พอได้เงินมา คิงชาร์ลส์ก็โนสนโนแคร์ไปในที่สุด (อย่างชอบ)

ยังเก็บภาษีตามที่อยากจะเก็บ ยังบังคับเรื่องศาสนาแบบไม่หยุด

ทำให้เริ่มมีกลิ่นในการปฏิวัติคิงชาร์ลส์ซึ่ง คิงก็รู้ตัวดีและได้กลิ่นของการปฏิวัตินั้น ก็เลยสั่งปิดประชุมสภาและยุบสภาเล่น ๆ (คศ.1629) ไป 11 ปี

ในระหว่างนี้ ที่ไม่มีสภา 11 ปี ขอตัดภาพมาที่ลูกชาวนาคนหนึ่ง

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

ลูกชาวนาคนนี้ชื่อ โอลิเวอร์ เป็นลูกชาวนาที่รวยครับ คือตระกูลเป็นประชาชนทำมาหากินแล้วเป็นมหาเศรษฐีในประเทศ พอพ่อตาย ทรัพย์สินก็กลายเป็นของโอลิเวอร์ไป

เนื่องจากโอลิเวอร์ (ตอนอายุประมาณ21) เนี่ย รวยใช่ไหมครับ ก็จะมีเพื่อนที่ไฮโซ เพื่อน ๆ ก็ผลักให้ โอลิเวอร์ไปลงเป็น สส. เพราะเห็นแวว

แต่พอได้เป็น สส. ก็ต้องมีการเสนอชื่อ ให้คิงชาร์ลส์ (ในช่วงก่อนสั่งปิดสถานะ)

คิงชาร์ลส์ก็บอกว่า ไม่เอา สส.โอลิเวอร์คนนี้ เพราะเป็นลูกชาวนา และยังเป็นพวกนับถือนิกายโปรเตสแตนต์อีกต่างหาก ก็ไม่ได้เป็น สส.ในที่สุด

ในเวลาต่อมาก็ถูกรับเลือกเป็นสส.อีกครั้ง (อายุประมาณ29) แต่ก็เป็นได้ 1 ปี คิงชาร์ลส์ก็สั่งปิดสภาไป 11 ปีนั่นแหละครับ

ภาพเหมือนของครอมเวลล์
วาดโดยแซมมวล คูเปอร์ในปี ค.ศ. 1656

ในช่วง 11 ปีที่ปิดไป คิงชาร์ลส์สร้างเรื่องให้ประเทศเยอะมาก การเข้มงวดเรื่องเก็บภาษี โดยเฉพาะคนที่นับถือโปรเตสแตนต์

จนสุดท้ายประชาชนก็ไม่ยอมเสียภาษีให้กษัตริย์อีก (แม้จะขึ้นแค่1หรือ2%เท่านั้น) แถมประชาชนยังก่อกบฏ มีม็อบอยู่เนือง ๆ

โอลิเวอร์ก็ใช้เวลาที่อยู่ต่างจังหวัด โดยการฝึกทหารม้า และรวมกำลังทหารม้า ด้วยความที่มีความเป็นผู้นำ และเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน และบอกว่าคนที่จะเป็นทหารม้าต้องเป็นคนที่นับถือ โปรเตสแตนต์เท่านั้น ไม่รับคาทอลิค ชาวพิวริแตนก็กรี๊ดกร๊าดชอบใจกันใหญ่ เพราะเหมือนถูกกดขี่มานาน

พอเรื่องของโอลิเวอร์ไปถึงหูคิงชาร์ลส์ ว่าโอลิเวอร์กำลังรวมทหารม้า คิงชาร์ลส์ก็เห็นท่าทีไม่ดี เลยเรียกประชุมสภาหวังเรียกคะแนนจากประชาชน (ค.ศ. 1640)

แต่การเรียกประชุมสภาครั้งนี้ พระองค์คิดว่าจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ แต่เปล่าเลย เหมือนเปิดสภามาให้ด่าพระองค์เองนั่นแหละครับ ทั้งเรื่องภาษี ศาสนา ความวุ่นวาย

สภาจึงหาข้อสรุปถึงปัญหาว่า จริง ๆ ปัญหาเนี่ยอาจจะมาจาก หัวหน้ารัฐมนตรี หรือนายก ที่เป็นคนดำเนินการและแนะนำกษัตริย์ ให้เก็บภาษีเพิ่ม สภาจึงลงมติกันว่าให้สั่งจับ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีและอาร์คบิชอปไปประหารชีวิตซะ

คิงจึงโกรธมาก ๆ แล้วคิดว่า รัฐสภาลบหลู่อำนาจ ท้าทายอำนาจของพระองค์ และยังทราบข่าวว่ารัฐสภากำลังจะแจ้งความผิดต่อพระองค์ด้วยที่นำคนผิด ๆ มาบริหารประเทศ

พระองค์ไม่อยู่เฉยหรอกนะครับ

พระองค์จึงสั่งให้ ทหาร ไปที่รัฐสภาเลยจบ ๆ ไปคุมเชิงสักหน่อย

ทาง สส. และรัฐสภาก็คิดว่า คิดไม่ผิดว่าพระองค์จะทำแบบนี้ จึงมีการส่งข่าวไปที่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

โอลิเวอร์จึงนำทัพทหารม้ามาคุ้มครองรัฐสภาและสส. ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

แต่ด้วยความที่คนเยอะใช่ไหมครับก็จะมีลักษณะเฉพาะของคนสองกลุ่มอยู่ ระหว่างทหารของพระราชากับทหารม้าของโอลิเวอร์

ทหารม้านำโดย โอลิเวอร์ และ เซอร์ โทมัส แฟรแฟ็กซ์ สั่งให้ทหารม้าตัดหัวเกรียนเรียกว่า ตั้งชื่อกันเองว่า แก๊งหัวกลม เพื่อจะไม่ให้ฆ่าพวกเดียวกันเอง

สงครามกลางเมืองอังกฤษ โอลิเวอร์ครอมเวลล์

การรบกันเกิดขึ้นหลายครั้ง การรบกันย่อย ๆ ที่ฝั่งทหารม้าชนะบ่อย ๆ ยิ่งทำให้ โอลิเวอร์ก็เด่นขึ้น ดังขึ้น มีบารมีมากขึ้น

จนสุดท้าย ฝั่งคิงชาร์ลส์ที่ 1 ก็แพ้อย่างหมดรูปในที่สุด

คิง ชาร์ลส์ที่ 1 ลี้ภัย

สุดท้ายคิงชาร์ลส์ก็ลี้ภัยไป สกอตแลนด์ แต่ทางชาวสกอตก็เริ่มเห็นท่าไม่ดี มีการประชุมสรุปกันว่าการมีพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 อยู่เป็นเหมือนการชักศึกเข้าบ้าน เพราะทหารของโอลิเวอร์ก็เก่งเอาเก่งเอา และสุดท้ายชาวสกอตก็ส่งตัวพระเจ้าชาร์ลส์กลับอังกฤษ

พระองค์ ยืนยันว่าตัวเองไม่มีความผิด และไม่เกรงกลัวต่อรัฐบาล ถูกตัดเศรียรที่ ไวท์ฮอลล์

ในเวลาต่อมารัฐสภาที่มี สส.ที่นับถือนิกาย โปรเตสแตนต์อยู่เต็มสภาก็ลงมติให้ประหารพระองค์เสีย เพราะจะอยู่ไปก็จะสร้างแต่ปัญหาให้กับประเทศแน่ ๆ

ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649

โดยที่เป็นที่เล่าขานกันว่า ในระหว่างที่จะโดนตัดพระเศียรนั้น คิงชาร์ลส์ไม่มีอาการหวาดกลัว หรือสั่นใด ๆ แม้แต่น้อย พร้อมบอกว่า “เรารู้ว่าเราอยู่ตรงนี้เพราะอะไร และรู้ทุกอย่างว่าใครอยู่เบื้องหลัง”

จากนั้นคนที่ขึ้นครองประเทศก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือลูกชาวนาอย่างโอลิเวอร์นั้นเองครับ เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนสามารถปกครองประเทศได้ ค.ศ. 1657 (ได้รับมงกุฎ โบราณสมัย ศตวรรษที่ 1 ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้มงกุฎนี้อยู่)

แต่โอริเวอร์ก็ขึ้นบัลลังก์ได้ไม่นานก็ล้มป่วยและเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 (1ปีนั้นแหละ)

สุดท้าย ชาวอังกฤษก็เรียกร้องให้ฟื้นฟูระบบกษัตริย์ กลับมาในที่สุด

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ จึงเป็นประชาชนคนเดียวที่เคยได้รับมงกุฎกษัตริย์ของอังกฤษครับ

จบปิ้งงง ถ้าชอบแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านด้วยน้าา แอดมินตั้งใจเขียนมากกก

อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

bigdreamblog #bigdream

follow us |
กดติดตามเพจ I Have A Big Dreams และกด see first
เพื่อไม่พลาดบทความดีๆแบบนี้ทุกวันนะครับ
รัก รัก ❤ เรามาเป็นของขวัญให้กันและกันนะ
Website : https://www.bigdreamblog.com
Blogdit : https://www.blockdit.com/bigdreamblog
Youtube : https://www.youtube.com/c/BIGDREAMBLOG
บทความ รวมคำคม | https://www.bigdreamblog.com/home-คำคม/สารบัญ-คำคม-คำคมคนดัง/

Ref: หนังสือบันทึกโลก

karnnikro
karnnikrohttps://www.karnnikro.com
MD of NIKRO GROUP CO.,LTD. และบรรณาธิการบริหาร BIGDREAMBLOG | License holder TEDxBangKhunThian | อดีตที่ปรึกษาประธาน กมธ พัฒนาการเมืองฯ | อดีตรองผู้อำนวยการมติชนอีเว้น | Entrepreneurship Degree & Law School | อยากได้สิ่งที่ไม่เคยได้ต้องทำสิ่งที่ไม่เคยทำ | รักแมววว

Similar Articles

Comments

Instagram

ที่ปรึกษาการตลาด / จัดอีเว้นท์ / ที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจ | ปรึกษา | กฎหมาย | ธุรกิจ การตลาด อีเวนต์

Most Popular