DTC – DIRECT TO CONSUMER ในปี 2017 NIKE ได้นำสินค้าไปผูกกับช่องทางการขายผ่านออนไลน์ อย่าง AMAZON เพื่อหวังให้ยอดขายดีขึ้นและเป็นการลดสินค้าปลอมในตลาดอีกด้วย เพราะแบรนด์ขายโดยตรง
- SCAMPER คิดไอเดียใหม่ ๆ ร่วมกันระดมสมอง
- อยากทำ SEO เริ่มวางแผน
- การทำงานเป็นทีม สิ่งที่ทำให้ทีมของคุณทำงานด้วยกันไม่ได้ !!!
กรณีศึกษาจากแบรนด์
แต่ปลายปี 2019 NIKE ประกาศแยกตัวจาก AMAZON และไม่ขายของแบรนด์ผ่าน Platform ใด ๆ เพราะว่า NIKE เห็นว่าไม่ตอบโจทย์กับยุคสมัยอีกต่อไปแล้ว NIKE เลือกที่จะขายของผ่าน Platform ของตัวเองเพราะกังวลในเรื่องของข้อมูล ลูกค้า และสามารถควบคุมเองได้ไม่ต้องไปพึ่งคนกลาง หรือคนอื่น ๆแต่อย่างใด
วิธีดังกล่าวเรียกว่าเป็น DTC หรือ Direct to Consumer ที่แบรนด์ในโลกยุคใหม่จะทำการตลาดกับผู้บริโภคโดยตรง
ถ้าติดตาม NIKE ทำให้ NIKE ตัดสินใจแบบนี้เพราะว่า แบรนด์ไม่สามารถควบคุม Marketplace ได้ แต่ถูก Marketplace ควบคุมเสียเอง และต้องทำตามกฏระเบียบต่าง ๆ ที่เอื่อต่อเจ้าของ platform การยกเลิกขายของบน AMAZON ไม่กระทบต่อยอดขายของแบรนด์แต่อย่างใด
ผลที่อาจตามมาหากแบรนด์เอาจริงกับ Direct to Consumer
เพราะในเมื่อตามตำราการตลาดบอกให้แบรนด์ทำการตลาด มุ่งทำโฆษณาให้ลูกค้าเข้าร้านค้าปลีก ซึ่งตอนนี่ก็มีหลายธุรกิจยังยิงโฆษณาให้ลูกค้าเข้า Lazada กันอยู่เลย แต่ถ้าแบรนด์คิดจะทำDTCกันอย่างจริงจัง ก็ควรเริ่มเก็บข้อมูลลูกค้าด้วยตัวเอง ไม่จ้างใครเก็บข้อมูล หรือไม่เอาข้อมูลลูกค้าจากที่ไหน หันมาทำ logistic ของตัวเอง ระบบการสต็อกของ ส่งของ รับออเดอร์ ออกแบบโครงสร้างธุรกิจใหม่ ทั้งหมดเพื่อทำให้ลูกค้าสนใจแบรนด์มากกว่าตัวกลาง จนผู้บริโภคไม่ต้องตระเวนหาซื้อของที่อยากได้ตามห้างฯ

7 เหตุผล ที่ทำให้เราต้องสนใจในวิธี Direct to Consumer
- อัตราการเติบโตของรายได้ที่สูงขึ้น
- มาร์จิ้นที่เก็บได้เยอะขึ้น (net)
- เข้าถึงตลาดได้มากขึ้น
- ลดต้นทุนในระยะยาว
- พัฒนาฐานข้อมูลของลูกค้า
- พัฒนาความสัมพันธ์ของลูกค้า
- อยากขายอะไรก็ขาย ไม่ถูกตัวกลางจำกัด
บทความจาก NORMTHING Marketing Agency
จัดอีเว้นท์ การตลาด ทำเว็บไซต์ ที่ปรึกษาการตลาด ทำSEO
รับความรู้ใหม่ ๆ ผ่านไลน์ | @normthing | https://lin.ee/4H8ZjDV