ปวดหลัง เมื่อยคอเป็นอาการสามัญประจำบ้านที่แทบจะทุกคนพบเจอ จนมีคำกล่าวว่า “ทุกการเติบโต มักปวดหลัง” ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ? เหตุผลจริง ๆ แล้วมาจากการ วิวัฒนาการ ของมนุษย์นั่นเอง ซึ่งอาการปวดหลังนั่นคือส่วนหนึ่งที่บ่งบอกเราว่า “เรากำลังวิวัฒนาการ”
ความฉลาด แลกด้วยการ ปวดหลัง
Yuval Noah Harari นักประวัติศาสตร์ชาว อิสราเอล ได้เขียนไว้ในหนังสือ เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ : Sapiens A Brief History of Humankind “การปวดหลังและเมื่อยคอเป็นผลที่ตามมาจากการที่สมองมนุษย์มีความใหญ่ขึ้น และทัศนวิสัยที่สูงขึ้นจากการยืนสองขา”

วิวัฒนาการ การของมนุษย์ทำปวดหลังได้อย่างไร ?
โครงสร้างกระดูกของมนุษย์ มีวิวัฒนาการมาแล้วหลายล้านปีจากต้นกำเนิดที่เรียนว่า ไพรเมต (primate) ซึ่งเป็นโครงกระดูกตั้งต้นของสัตว์จำพวกลิง แล้วโครงกระดูกไพรเมตเดิมทีโครงสร้างของมันมีไว้เพื่อการเดินด้วย ขา และ แขน ทั้งสี่ข้าง ไม่ได้เดินด้วยขาสองข้างแบบมนุษย์ในปัจจุบัน
Homo (เผ่าพันธ์ุของมนุษย์) เริ่มมีวิวัฒนาการจากการเดินด้วยแขนและขาทั้ง 4 เป็นการเดินตัวตรงบนขาทั้งสองข้าง เพื่อให้มีทัศนวิสัย หรือมุมมอง ในการมองหาเหยื่อต่าง ๆ ในทุ่งหญ้าได้ง่ายและกว้างมากขึ้น Homo เริ่มใช้แขนทั้งสองข้างเป็นไปในทางที่ส่งสัญญาณ สื่อสาร ขว้างสิ่งของ รวมทั้งประดิษฐ์ของต่าง ๆ แขนทั้งสองข้างจึงแทบไม่มีความจำเป็นในการเคลื่อนที่เลย
การเปลี่ยนบทบาทการใช้แขนทั้งสองข้างนี้ทำให้ มนุษย์ มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับแขนและมือก็คือ มีกระแสประสาทที่มือ รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อที่ละเอียดอ่อนมากขึ้นเพื่อให้รองรับการใช้งาน มนุษย์ประดิษฐ์ของต่าง ๆ ราว ๆ เกือบ 3 ล้านปีที่แล้ว
ข้อเสียของการมีมุมมองที่กว้างขึ้น
มนุษย์เมื่อ 2.5 ล้านปีที่แล้วมีขนาดสมองของมนุษย์มีขนาดประมาณ 600 ลูกบาศก์เซนติเมตร (น้ำหนักประมาณขวดน้ำขวดเล็ก) แต่ในปัจจุบันน้ำหนักของสมองของมนุษย์อยู่ที่ 1,200-1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร (หรือเท่า ๆ ขวดน้ำขวดใหญ่ตามร้านสะดวกซื้อ) จะเห็นได้ว่ามนุษย์มีหัวโตขึ้นอย่างมหึมาเมื่อเทียบกับ 2.5 ล้านปีที่แล้ว
ลองนึกภาพการ รถเก๋ง 4 ล้อแบกทีวีจอแบน และรถมอเตอร์ไซต์ที่แบกทีวีจอแก้วขนาดใหญ่ ความคล่องตัวมันค่อนข้างต่างกัน
รถเก๋ง 4 ล้อเปรียบเสมือนการเดินของมนุษย์ที่ใช้แขนและขาทั้ง 4 ในการเดินทาง ทีวีจอแบนน้ำหนักเบาเปรียบเสมือนสมองของมนุษย์สมัยก่อน
รถมอเตอร์ไซต์ เปรียบเหมือนการเดินสองขาของมนุษย์ในปัจจุบัน และต้องแบกทีวีขนาดใหญ่ซึ่งเหมือนสมองของเรา
ซึ่งมันทุลักทุเลไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะครับ ?

ผู้หญิงยิ่งมีโอกาสมีความเสี่ยงมากกว่า
ด้วยโครงสร้างของกระดูกการปรับตัวจาก เคลื่อนที่ด้วยแขนและขาทั้ง 4 วิวัฒนาการมาเป็นการเดินสองขาของมนุษย์นั้น ทำให้ร่างกายต้องการกระดูกสะโพกรวมทั้งช่องคลอดที่แคบลงในการพยุงตัว
ผู้หญิงมีโครงสร้างภายในร่างกายที่เทอะทะกว่า และโครงสร้างภายนอกที่บอบบางกว่า มันออกจะดูขัด ๆ กันหน่อยใช่ไหมล่ะครับ ?
ในปัจจุบันด้วยความที่มนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ซึ่งแปลว่า “มนุษย์ที่ฉลาด” ทารกจากมนุษย์มีหัวสมองและกะโหลกใหญ่ขึ้นจากเดิมมาก ผู้หญิงจึงมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตในขณะที่ให้กำเนิดทารก ผู้หญิงที่คลอดทารกขณะที่หัวเด็กยังอ่อนนิ่มจึงมีโอกาสมีชีวิตรอดมากกว่าเพื่อที่จะสืบเผ่าพันธ์ุต่อไป
การคัดสรรจากธรรมชาติจึงเลือกคนที่คลอดก่อนกำหนดมาเป็นวิวัฒนาการของมนุษย์ในปัจจุบัน เราจะสังเกตได้ว่า สัตว์อื่น ๆ อย่างเช่นม้า ที่คลอดทารกออกมา ลูกม้าก็สามารถวิ่งเหยาะ ๆ ได้เลย และในแมวที่ใช้เวลาไม่กี่อาทิตย์ลูกแมวก็สามารถหาอาหารกินเองได้ ในขณะที่ทารกใช้เวลาเป็นปี ๆ กว่าจะช่วยเหลือตัวเองได้นั่นเอง

“ไม่ใช่เก่งที่สุด หรือแกร่งที่สุด
— Charles Darwin, English naturalist
แต่สิ่งที่ปรับตัวได้ที่สุดจะอยู่รอด”
คำคมอื่น ๆ | 500 คำคม แรงบันดาลใจ ความรัก และความฝัน
เรากำลังอยู่ในกระบวนการ วิวัฒนาการ เราจึง ปวดหลัง
อันนี้กล่าวโดยสรุปได้ว่า อาการปวดหลังปวดเมื่อยนั้น มาจากการที่มนุษย์ กำลังปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดอาการเหล่านั้นนั้นเอง โครงสร้างกระดูกของมนุษย์ถูกวิวัฒน์มาเป็นสิบล้านปี แต่ถ้าเทียบเผ่าพันธ์ุของเรา Homo sapiens ซึ่งมีอายุประมาณ 100,000 ปีเท่านั้นเอง เท่ากับว่าเรายังต้องมีเส้นทางในวิวัฒนาการอีกยาวนานมากนั้นเอง ถ้าโลกเรายังคงอยู่นะ แต่ในขณะนี้พวกเรายังคงต้องทนต่อ อาการปวดหลัง และ ปวดเมื่อยไปก่อนนะครับ