Self criticism พฤติกรรมทำร้ายตัวเองที่หลายคนไม่รู้ตัว

Reading Time: < 1 minute

Self criticism | หลาย ๆ คนล้วนมีช่วงเวลาที่ตำหนิตัวเอง กดดันตัวเองบ้างในบางครั้งไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การตำหนิตัวเอง ส่วนใหญ่มาพร้อมกับความคาดหวังที่เรามีให้กับตัวเอง หรือมีคนที่มีอิทธิพลมอบความคาดหวังนั้นให้กับเรา

สัญญาณของ Self Criticism การ ตำหนิตัวเอง

คนที่ ตำหนิ หรือวิจารณ์ตัวเองจะมีความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัว รวมทั้งมักจะมีคำพูดประมาณว่า

“ฉันไม่เก่งพอ”
“ฉันทำไม่ได้”
“ฉันทำอะไรก็ล้มเหลว”

หนังสือ | อย่ามองกลับไป นั่นไม่ใช่ทางที่คุณจะเดิน


การตำหนิตัวเอง วิจารณ์ตัวเองจะพูดในมุมภาพกว้าง ๆ คือตำหนิตัวเองในการเหมารวมว่า เราเป็นคนไม่ดี โดยที่ไม่ได้บ่งบอกถึงกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงมันส่งผลให้กระทบต่อความมั่นใจของตัวเอง ที่อาจจะทำให้ขัดต่อการพัฒนาความคิด และร่างกายของตัวเองด้วย

SELF-CRITICISM-ตำหนิตัวเอง
SELF-CRITICISM-ตำหนิตัวเอง

กรณีศึกษาของการ ตำหนิตัวเอง แบบไม่รู้ตัว

โจแอนนา สาวเก่งอายุ 42 ปี เข้าไปใช้บริการที่ปรึกษาทางจิตเวช ในรายงานว่าเธอรู้สึกไม่พึงพอใจกับชีวิต ที่เป็นอยู่ของเธอ เธอมีครอบครัวใหญ่ และครอบครัวขนาดใหญ่ของเธอทำให้เธอมีความเครียดและความสุขพอ ๆ กัน

เธอบอกนักบำบัดที่ปรึกษาว่า งานของเธอที่ทำประสบความสำเร็จ แต่ก็ทำให้เธอวิตกกังวลมากเช่นกัน ชีวิตแต่งงานของเธอเองก็อบอุ่นน่าภูมิใจและน่าผิดหวังในเวลาเดียวกัน หลังจากการปรึกษาบำบัดเพียงไม่กี่ครั้งเพื่อหาต้นตอของปัญหาว่าความรู้สึกไม่สบายใจของ โจแอนนาเกิดขึ้นได้อย่างไร ?


โจแอนนา ค่อนข้างมีความสุขกับชีวิตของเธอ และในขณะที่เข้ารับการปรึกษาและบำบัด นักจิตวิทยาที่ปรึกษา ก็พบว่าโจแอนนามีพฤติกรรมที่วิจารณ์ตำหนิผู้อื่นในบางครั้ง แม้เธอจะแทบไม่รู้ตัวก็ตาม และคำวิจารณ์ตำหนิผู้อื่นของเธอนั้นเธอได้เก็บคำคำนั้นมาใส่ตัวเองด้วย นักจิตวิทยาที่ปรึกษาชี้ให้โจแอนนาเห็นว่า คำวิพากษ์วิจารณ์ที่เธอมอบให้คนอื่น เธอก็เก็บคำวิจารณ์ที่แย่ ๆ ไว้สำหรับตัวเธอเอง


นักจิตวิทยาที่ปรึกษาจึงให้โจแอนนา ได้สำรวจความคาดหวังที่มีต่อตัวเองว่ามีสิ่งไหนไม่สามารถทำให้สำเร็จได้บ้าง พบว่า ความคาดหวังที่ทำไม่สำเร็จนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวโจแอนนาเลย แต่มันเกิดจากความคาดหวังที่พ่อและแม่มีให้ต่อตัวเธอ ตลอดเวลาโจแอนนาเข้าใจมาตลอดว่าความคาดหวังที่พ่อแม่มีต่อเธอไม่ได้มีผลอะไรต่อเธอเลย

แต่หลังจากเข้ารับการปรึกษา ทำให้โจแอนนาเห็นว่ามันเป็นที่มาของความรู้สึกว่าตัวเองยังไม่ดีพอเพราะยังไม่สามารถทำตามความคาดหวังของพ่อและแม่ได้ นักจิตวิทยาที่ปรึกษาและบำบัดเผยให้เห็นว่าพวกเขายังคงมีผลอย่างมากต่อความเชื่อและพฤติกรรมของเธอ หลังจากนั้นโจแอนนาก็พยายามร่วมกับนักจิตวิทยาที่ปรึกษา เพื่อปรับความเชื่อให้ตรงและสอดคล้องกับค่านิยมของตัวเองจริง ๆ


หลังจากเข้ารับการปรึกษาและบำบัด โจแอนนา ก็มีระดับในการเห็นอกเห็นใจตัวเองมากยิ่งขึ้น และคำวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีต่อเธอก็ส่งผลกระทบต่อความคิดและชีวิตของเธอลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?

บางทีคนเราก็ไม่รู้ตัวว่าเรากำลังตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ตัวเองอยู่ บางทีมันเกิดขึ้นในจิตใต้สำนึก แล้วเราจะทำอย่างไรเมื่อมันเป็นเช่นนี้ ผมขอเรียกว่าวิชาอ่อนโยนต่อตัวเอง หรือ Self Compassion แล้วเราจะฝึกอย่างไรให้เราอ่อนโยนต่อตัวเอง แก่นของเรื่องนี้สำหรับผมเลยก็คือ

Unconditional
Positive Regard
ยอมรับความเป็นตัวเรา
อย่างไม่มีเงื่อนไข

การยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขคือ การที่เราละทิ้งความคาดหวังที่คนอื่น ๆ มีต่อเรา หรือที่เรามีต่อตัวเอง

ให้เรารักตัวเองไม่ว่ายังไงก็จะรัก ไม่ต้องเก่งไม่ต้องฉลาด
ก็จะรัก เหมือนกับเพลงที่ผมชอบเพลงหนึ่งก็คือเพลง “ธรรมดาแสนพิเศษ” ของ ANATOMY RABBIT โดยที่มีเนื้อเพลงว่า


“ที่เธอเป็นเธออย่างนี้นะดีอยู่แล้ว
ที่เป็นเธอแบบนี้นะดีอยู่แล้ว
เป็นความธรรมดาที่แสนจะพิเศษ
มากกว่าใครใดใดทั้งนั้น”

แต่ให้เปลี่ยนเนื้อเพลงเป็น

“ที่เราเป็นเราอย่างนี้นะดีอยู่แล้ว
ที่เป็นเราแบบนี้นะดีอยู่แล้ว
เป็นความธรรมดาที่แสนจะพิเศษ
มากกว่าใครใดใดทั้งนั้น”

สรุปแล้วเราทุกคนไม่ได้เพอร์เฟค

การปล่อยวางการไม่ตั้งความหวังให้กับตัวเอง ไม่กดดันตัวเอง เมื่อผิดหวังไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้เป็นคนแย่ แต่แค่เราผิดพลาดหนึ่งเรื่องจากเป็นล้าน ๆ เรื่องที่เราเคยเจอแค่นั้นเอง และมันเกิดขึ้นได้ในชีวิตเพราะ

เราเป็นมนุษย์เราล้วนทำผิดพลาด
โอบกอดตัวเองในวันนั้น
และอยู่เป็นเพื่อนกับตัวเองในวันนี้

Karnnikro. (2021) . อย่ามองกลับไปนั่นไม่ใช่ทางที่คุณจะเดิน
(พิมพ์ครั้งที่ 1). สํานักพิมพ์บิ๊กดรีม. คำคม

บทความอื่นที่คุณน่าจะชอบ

~~~~~
อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

follow us |
กดติดตามเพจ Big Dreams และกด see first
เพื่อไม่พลาดบทความดีๆแบบนี้ทุกวันนะครับ
รัก รัก ❤ เรามาเป็นของขวัญให้กันและกันนะ
Website : https://www.bigdreamblog.com
Youtube : https://bit.ly/2YJX96U
Instagram : https://bit.ly/3qBu4pP

Editor's team Bigdream
Editor's team Bigdreamhttp://bigdreamblog.com
ทีมบรรณาธิการ บิ๊กดรีม มีเดีย และ สำนักพิมพ์บิ๊กดรีม พวกเราผลิตสื่อที่ขับเคลื่อนความหลงไหลในความฝันและแรงบันดาลใจ

Similar Articles

Comments

Leave a Reply

Instagram

ที่ปรึกษาการตลาด / จัดอีเว้นท์ / ที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจ | ปรึกษา | กฎหมาย | ธุรกิจ การตลาด อีเวนต์

Most Popular