Don’t look up เป็นภาพยนตร์ที่ผมตัดสินใจอยู่สักพักว่าจะดูหรือไม่ดูดี เพราะได้ไปอ่านรีวิวของ Rogerebert เขาให้คะแนนค่อนข้างต่ำจนแอบคิดไปว่ามันต้องเป็นหนังที่น่าเบื่อแน่ ๆ จนกระทั่งภาพยนตร์เข้า Netflix ไทย และก็มีคนพูดถึงหลายต่อหลายคน จนทำให้คิดว่าดูก็ได้ เพราะนอกจากคะแนนต่ำเตี้ยเรี่ยดินของ Rogerebert แล้วก็ยังหาเหตุผลที่จะไม่ดูไม่ได้ ทั้งนักแสดงเอย ผู้กำกับเอย มันกระตุ้นความตื่นเต้นให้ดูอยู่แล้ว และนี้คือรีวิวครับ
Don’t look up เป็นหนังที่ต้องดู !
ภาพยนตร์เรื่อง Don’t look up เป็นการสะท้อนความเป็นจริงใจปัจจุบัน ถึงแม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะบอกว่า “สร้างจากความจริงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต” แต่ผมเชื่อว่าเขาสร้างจากความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นเรื่องราวของ นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนกับลูกศิษย์ ซึ่งแน่นอนไม่ใช่มหาวิทยาลัย ไอวีลีก (มหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลก) Dr. Randall Mindy ที่เล่นโดย Leonardo DiCaprio และ Kate Dibiasky (Jennifer Lawrence) ลูกศิษย์ ที่ค้นพบดาวหางลูกใหม่ขนาดมหึมา ที่สำคัญคือมันกำลังจะพุ่งชนโลกและทำให้มนุษย์สูญพันธุ์อีกภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้

คำบอกเล่าจากคนในไทย
หนังเรื่องนี้ดูจะถูกใจคอหนังชาวไทยจำนวนมากเหตุผลเพราะว่ามันเป็นตัวจิกกัด รัฐบาลทางอ้อมที่เป็นวลีอย่าง “ผู้นำโง่เราจะตายกันหมด” ซึ่งมันแล้วแต่ผู้ดูจะตีความ
มองย้อนกลับไปในบริบทของผู้สร้าง
McKay ผู้กำกับและมือเขียนบทรางวัล Oscar จากภาพยนตร์ The big short (2015) มาเป็นมือเขียนบทและกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้
สิ่งที่ผมคิดก็คือมันเต็มไปด้วยเรื่องราวของอเมริกันชนโดยแท้ ตัวละครต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น Peter Isherwell (Mark Rylance) ผมนั่งนึกอยู่นานว่ารู้สึกคุ้น ๆ และมาอ่อเกือบท้ายเรื่องว่า คาแรคเตอร์ การพูดการจาแบบนี้ มันสื่อถึงประธานาธิบดีสหรัฐ Joe Biden แทบจะถอดแบบมาวาง แต่ไม่ใช่ตัวเขาโต้ง ๆ เป็นการผสมผสานระหว่างเขาและ Elon Musk นักธุรกิจนักการตลาดที่ฝันจะไปใช้บั้นปลายชีวิตที่ดาวอังคาร


ถัดมาประธานาธิบดี President Orlean (Meryl Streep) ถูกถอดแบบมาจากมุมร้าย ๆ ของอดีตประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ จากแคมเปญการหารเสียง “Don’t Look Up” หรือตีเป็นนัยน์ว่าอย่าเชื่อนักวิทยาศาสตร์ ในช่วงที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องโกหกนั่นเอง รวมทั้งเรื่องของวัคซีน Covid-19 เองที่เหล่าอนุรักษณ์นิยม ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ มีแคมเปญ “Just say no” เป็นแคมเปญการปฏิเสธการรับวัคซีนซึ่งกล่าวหาว่าพวกเสรีนิยมเป็นพวกนาซีที่จะฆ่าคนทั้งประเทศผ่านวัคซีน ดังนั้นต้องปฏิเสธวัคซีนนั่นเอง

Dr. Randall Mindy (Leonardo DiCaprio) เป็นตัวแทนของเหล่านักวิทยาศาสตร์ ที่พยายามสื่อสารเรื่องภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่พูดปากเปียกปากแฉะเหลือเกิน
Kate Dibiasky(Jennifer Lawrence) ตัวละครที่รับบทโดย เจนลอว์ ค่อนข้างน่าสนใจผมมีความรู้สึกว่า McKay ตั้งใจถอดแบบมาจาก เกรย์ต้า เทนเบิร์ก นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ครั้งหนึ่งเป็น person of the year ของนิตยสาร Time เพราะด้วยวิธีการสื่อสารค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่กลับถูกฝั่งคนรักรัฐบาลทรัมป์ หรือแม้แต่ทรัมป์เองก็โยนความอารมณ์ไม่คงที่ให้เขาจนนำมาทำเป็นเรื่องตลก
และตัวละครอื่น ๆ อีกมากมายที่รับบทเป็นตัวแทนของหลาย ๆ คนในสังคมที่มีตัวตนอยู่จริง ๆ

ผมไม่แน่ใจนะครับว่าแต่ละคนที่ดูแล้วตีความเป็นไปในทิศทางอย่างไรบ้าง แต่ผมดูแล้วอดนึกถึงเรื่อง Climate Change ไม่ได้จริง ๆ มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันกับเราแล้วว่า เราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ ครึ่งหนึ่งจากที่เป็นอยู่ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีเท่านั้น (ค.ศ. 2030) และเป้าหมายของเราคือต้องไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลยภายในอีกไม่เกิน 30 ปี (ค.ศ. 2050) สิ่งนี้เรียกว่า Net-Zero ที่พวกเราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง
แต่สิ่งที่รัฐบาลนานาประเทศ (หลาย ๆ ประเทศไม่ใช่ทั้งหมด) จัดประชุมสุดหรูอย่าง COP26 เพื่อมาโชว์ว่าประเทศของตัวเองทำอะไรบ้าง โดยใจความสำคัญของแต่ละประเทศ (บางประเทศ) ก็คือ “บรา บรา บรา” คือไม่มีอะไรมีแต่คำพูดที่ดูดี แต่ความจริงยังปล่อยให้ละเมิดป่าสงวน คอร์รัปชั่นสร้างโครงการบ้านสำหรับคนที่มีสิทธิพิเศษ แล้วไปประกาศต่อประชาชนชาวโลกว่า เราไม่มีแผนสำรองสำหรับการดูแลโลก ทั้งที่แอคชั่นจริง ๆ มันสวนทาง เพียงแต่เกาะกระแสเทรนด์โลกเท่านั้น รวมทั้งภาคเอกชนที่เกราะกระแสกรีน แต่ผลิตภัณฑ์และกระบวนการมันไม่ได้กรีนจริง ๆ เพียงแค่หาผลประโยชน์ทางการตลาดจากมันเท่านั้น นี้เป็นภาพสะท้อนของภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างไม่ขำไม่ออก
สงสัยทำไมถึงให้คะแนนรีวิวน้อย
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่คุ้มค่าแก่การดู การตีความเรืองหนึ่งทำเอาผมแปลกใจมาก ๆ ทำไมถึงได้รับคะแนนค่อนข้างน้อยเพราะขัดต่อความเห็นผมสุด ๆ ไปเลยล่ะครับ แต่ยังทำให้อุ่นใจอยู่บ้างเพราะคะแนนฝั่ง IMDB ไม่ได้ให้น้อยอย่างนั้นอยู่ในระดับไม่ดีไม่แย่
หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบ แน่นอนมันยังคงมูฟออนไปจากเรื่องนี้ไม่ได้หลังจากสับเปลี่ยนอารมณ์จากหนังคริสต์มาส ในวันที่ 25 ที่ผ่านมา(คนละอารมณ์กันเลยทีเดียว)
สารพัดข้อดีของภาพยนตร์เรื่องนี้
เนื้อเรื่อง Don’t look up
ข้อดีข้อแรกที่ยกให้ภาพยนตร์เรื่อง Don’t look up นั่นก็คือ “บท สคริปต์ เนื้อเรื่อง” เท่าที่ดูผมรู้สึกว่าตรงนี้เป็นจุดแข็งของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่แข็งเสียยิ่งกว่า การมีนักแสดงที่รวมดาราเสียอีก หากใครชอบสไตล์หนังของ McKay จะรู้สึกว่าบทเรื่องนี้มันคือสุดยอดเลยล่ะ เพราะในทุก ๆ ฉากทุก ๆ สารที่จะสื่อมันมีความหมายอยู่ในนั้นแม้แต่บทเล็ก ๆ
ยกตัวอย่างเช่นบทที่ผมชอบคืออยู่ในตอนแรก [มีสปอยนิดหน่อย] ตอนที่ ดร. ไมด์ดี้ และ Dr. Teddy จากนาซ่าไปหาประธานาธิบดีด้วยความเร่งด่วน แต่กลับต้องรอเป็นวันเพราะต้องรอประธานาธิบดีเป่าเค้กวันเกิด และทำเรื่องอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อคะแนนเสียงเสียก่อน
ในความเป็นจริงผมเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการของภาครัฐบ้าง มันเป็นอย่างนี้เลยครับถูกนัดไปหาแต่ต้องรอเป็นวันโดยไม่ได้ทำอะไรเพียงเพราะเรื่องไม่ได้สำคัญต่อคะแนนเสียงที่จะได้มานั้นเอง ซึ่งประเด็นนี้มันยิ่งทำให้ผมรู้สึกเข้าถึงว่าเห้ยมันจริงนะในเรื่องที่ McKay เล่า
Don’t look up นักแสดง
คงเป็นประเด็นที่หลายคนหยิบเรื่องนี้มาพูดเป็นเรื่องแรกหากพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ และแน่นอนผมไม่ปฏิเสธความจริงในด้านนี้ นักแสดงเรื่องนี้คือดีมาก ๆ เรียกว่า “โคตรดี” เลยก็ว่าได้ครับ แต่มุมมองผมคือด้วยความที่บท และเรื่องราวมันดีอยู่แล้ว การจับนักแสดงเก่ง ๆ มาวางมันก็ลงตัว นักแสดงในเรื่องนี้สื่อสารถึงบทได้อย่างไม่ยากลำบาก โดยเฉพาะเจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ที่ภาพจำของเราคือแคตนิส เอเวอร์ดีน เด็กหัวปฏิวัติกล้าพูดอยู่แล้ว ซึ่งต่อยอดคาเรคเตอร์ของเคต ได้อย่างดีสุด ๆ เลยล่ะ และตัวละครอื่น ๆ เช่นกันผมมองว่า เพอร์เฟค แต่แอบเสียดาย ความหน้าหล่อบทพระเอกของ Timothée ถูกจับมาเป็นเด็กวัยรุ่นสายอินดี้ซึ่งมุมนี้ผมเซอร์ไพรส์ Ariana Grande ในบท Riley Bina ก็ทำได้ค่อนข้างดี
ตัวละครที่ช่วงหลัง ๆ ไปแจมเรื่องนู๊นเรื่องนี้ทีอย่าง Chris Evan ก็ค่อนข้างทำผมเซอร์ไพรส์เช่นกัน กับบทผู้กำกับที่หยิบเรื่องราวอุกกาบาตชนโลกมาทำเป็นภาพยนตร์ ซึ่งประโยคหนึ่งที่กระตุ้นต่อมหัวเราะนิดหน่อยคือ “เราต้องหยุดวางตัวเป็นคนดีของสังคม” ทั้ง ๆ ที่ภาพจำคือเขาเป็น กัปตันอเมริกา ผู้พิทักษ์ของสังคมอเมริกาด้วยล่ะ
สรุปสุดท้าย
หลังจากได้อ่านความคิดเห็นของหลาย ๆ คนทั้งไทยและต่างประเทศที่ให้คะแนนต่ำ โดยส่วนใหญ่เขาจะตีความไปในเรื่องของประเด็นทางการเมืองซึ่งมันเกิดขึ้นได้ แต่สำหรับผมการตีความที่ได้จากเรื่องนี้และคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการจะสื่อก็คือ ฉุกคิด กับข้อมูลที่ได้รับสักนิดหนึ่ง ในยุคสมัยปัจจุบันมนุษย์สามารถถูกชักจูงได้ง่ายมาก จากข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง เพียงแต่เติมอารมณ์ ทำให้มันดราม่า ทำให้มันฉุนเฉียว ทำให้มันหวือหวา แต่ปราศจากการรับรองที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์หลาย ๆ คนก็พร้อมที่จะเชื่อ ภาพยนตร์เรื่องนี้กำลังต่อสู้เพื่อเรื่องนี้ครับ
“เชื่อวิทยาศาสตร์”

คุณล่ะให้กี่คะแนน
ดูได้ที่
ข้อมูลของภาพยนตร์
นักแสดง
- Jennifer Lawrence as Kate Dibiasky
- Leonardo DiCaprio as Dr. Randall Mindy
- Meryl Streep as President Janie Orlean
- Cate Blanchett as Brie Evantee
- Rob Morgan as Dr. Clayton ‘Teddy’ Oglethorpe
- Jonah Hill as Jason Orlean
- Mark Rylance
- Tyler Perry as Jack Bremmer
- Timothée Chalamet as Quentin
- Ron Perlman as Colonel Ben Drask
- Ariana Grande as Riley Bina
- Kid Cudi as DJ Chello
- Melanie Lynskey as June
- Himesh Patel as Phillip
ผู้กำกับ
- Adam McKay
Writer (story by)
- Adam McKay
- David Sirota
Writer
- Adam McKay
Cinematographer
- Linus Sandgren
Editor
- Hank Corwin
Composer
- Nicholas Britell
Casting
- Francine Maisler
[…] […]