ไต้หวัน จีน อเมริกา ด้านหลังนั้นคืออะไร?

Reading Time: 3 minutes

ไต้หวัน และ จีนกำลังมีความตึงเครียดหลังจาก ที่การไปเยือนโดยแนนซี่ เพโลซี ประธานสภาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดที่มีความซับซ้อนระหว่าง จีน กับ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งภูมิภาค หรือ ประเทศไต้หวันอีกด้วย

ซึ่งความตึงเครียดครั้งนี้มาจากรัฐบาลจีนมองว่า ไต้หวันนั้นเป็นจังหวัดหนึ่งของตน (เช่นหาดใหญ่ ในประเทศไทย ที่ปกครองตนเอง) โดยจีนกำลังมองว่าไต้หวันมีความพยายามจะแยกตัวเองออกเป็นเอกราช ซึ่งขัดกับนโยบายในการสร้างชาติ ตามหลัก จีนเดียว (One China)

แต่อย่างไรก็ดีมีชาวไต้หวันจำนวนมากที่มองว่า เกาะของตนเองปกครองตนเองได้ และมองว่าโครงสร้างของตนมีทุกอย่างที่สอดคล้องกับความเป็นประเทศ ทั้งระบบการเมือง เศรษฐกิจและการบริหาร ถึงแม้จะไม่ได้รับการยอมรับจากจีน แต่พวกเขาเองก็ถือว่าตนเองเป็นประเทศ

ตกลงไต้หวันเป็นอะไรกันแน่
ตกลงไต้หวันเป็นอะไรกันแน่

จีนและไต้หวันเป็นมาอย่างไร

วันนี้ผมหยิบประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศ หรือ ของประเทศจีนและภูมิภาคไต้หวัน มาเล่าให้ฟังโดยย่อครับ ตามประวัติศาสตร์ที่มีข้อมูลระบุว่า ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเกาะไต้หวันคนแรกคือ เผ่าออสโตรนีเซีย ซึ่งเชื่อว่ามาจากจีนทางตอนใต้สมัยใหม่

และเกาะไต้หวันมีข้อมูลตามบันทึกของจีนครั้งแรกในปี ค.ศ. 239 จากที่จักรพรรดิส่งกองกำลังไปสำรวจพื้นที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ตรงนี้เป็นการอ้างสิทธิในดินแดนเหนือเกาะไต้หวัน

แผนทีเกาะไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่
แผนทีเกาะไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่

หลังจากนั้นไต้หวันถูกปกครองโดยราชวงศ์ชิงของจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1683 ถึง 1895 (ซึ่งมีข้อมูลเพียงน้อยนิดก่อนหน้านั้นว่าเป็นอาณานิคมดัตช์ช่วงปี 1624-1661)

และในศตวรรษที่ 17 มีประชาชนอพยพมายังเกาะไต้หวันจำนวนมากซึ่ง ผู้ที่อพยพส่วนใหญ่ก็มาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งโดยปัจจัยก็มาจาก ความยากจน ยากลำบาก รวมทั้งหนีความวุ่นวายในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งก่อนหน้านี้ก่อนจีนเปิดประเทศนั้นมีความยากลำบากมาก

โดยส่วนใหญ่ผู้ที่อพยพเป็นชาวจีนฮกโล จาก ฟูเคียน และ ชาวจีนแคะจากกวางตุ้ง ซึ่งชาวจีนแคะนี้เองก็เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะไต้หวันในปัจจุบัน

ในปี 1895 ญี่ปุ่นชนะสงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 ทำให้รัฐบาลชิงต้องยกไต้หวันให้กับญี่ปุ่น ถัดมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อสงคราม และจำใจทิ้งสิทธิเหนือเกาะไต้หวันที่ยึดมา ซึ่งจีน (ROC) เป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้เริ่มกลับมาปกครองไต้หวันด้วยความยินยอมของชาติพันธมิตร รวมถึง สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร

เจียง ไคเชก อดีตผู้นำจีน หนีไปไต้หวันพร้อมผู้สนับสนุน
เจียง ไคเชก อดีตผู้นำจีน หนีไปไต้หวันพร้อมผู้สนับสนุน

แต่ก็มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในประเทศจีน ในไม่กี่ปีถัดมา นำมาซึ่งความพ่ายแพ้ของเจียง ไคเช็ค ต่อกองทัพคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง

ผู้สนับสนุนและเจียง ไคเช็ค และส่วนที่เหลือของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง (KMT) ประมาณ 1.5 ล้านคนก็ได้อพยพไปยังเกาะไต้หวันในปี 2492

ซึ่งผู้คนดังกล่าวได้กล่าวประณามว่า จีนแผ่นดินใหญ่ได้ครอบงำการเมืองของไต้หวันมานานหลายปี แม้จะมีสัดส่วนประชากรเพียง 14% บนเกาะ ของทั้งหมด เจียง ไคเช็คได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในไต้หวันซึ่งเขาได้เป็นผู้นำในอีก 25 ปีถัดมา

ถัดมาในยุคของลูกชาย เจียง ชิง คุโอ ยอมให้มีประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นในไต้หวัน หลังจากเขาต้องเผชิญการต่อต้านจากคนในท้องถิ่นที่ไม่พอใจในระบบเผด็จการ และในขณะเดียวกันในเวลานั้นสังคมประชาธิปไตยกำลังแผ่ขยายขึ้นรอบโลก

ประธานาธิบดี Lee Teng hui ผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยของไต้หวัน เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการได้ Chen Shui Bian เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่ได้มาจากพรรค KMT ในปี ค.ศ. 2000

ไต้หวัน ใครรับรองเอกราชบ้าง?

มีความเห็นที่แตกต่างกันที่ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ตกลงไต้หวันนั้นคืออะไร โดยที่ไต้หวันนั้นมีรัฐธรรมนูญของตนเอง และกองกำลังของตนเองประมาณ 300,000 นาย

รัฐบาลพลัดถิ่นของ ROC ของเจียง ไคเช็ค ในทีแรกอ้างว่าเป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของประเทศจีนซึ่งเจียงไคเช็คตั้งใจจะยึดครองจีนกลับมาอยู่ในอำนาจของตนอีกครั้ง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงของ สหประชาชาติและได้รับการยอมรับจากชาติตะวันตกหลายประเทศว่าเป็นรัฐบาลจีนเพียงแห่งเดียว

แต่หลังจากนั้นในช่วง 1970 ก็มีบางประเทศเริ่มตั้งข้อสงสัยและเรียกร้องว่า รัฐบาลพลัดถิ่นที่บริหารในไทเป ไม่สามารถถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนหลายร้อยล้านคนที่อาศัยอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ได้

และหนึ่งปีถัดมา 1971 สหประชาชาติก็ได้เปลี่ยนการรับรองทางการทูตเป็นส่วนของการบริหารในปักกิ่งแทน และรัฐบาล ROC ถูกบังคับให้ออกในปี 1978 จีนก็ได้เริ่มเปิดระบบเศรษฐกิจ เริ่มเปิดประเทศ เพราะคำนึงถึงโอกาสทางการค้าและความจำเป็นในการพัฒนาความสัมพันธ์

และ สหรัฐฯ ได้ก่อตั้งความสัมพันธ์ทางการทูตกับปักกิ่งอย่างเป็นทางการในปี 1979

หลังจากนั้นประเทศที่ที่ให้การยอมรับรัฐบาล ROC ของเจียง ไคเช็ค ก็ลดลงเรื่อย ๆ เหลือเพียงประมาณ 15 ประเทศ

จนถึงตอนนี้ แม้จะมีคุณลักษณะทางการเมืองที่ต่างจากจีนแผ่นดินใหญ่อย่างชัดเจน แต่สถานะความเป็นประเทศของไต้หวันยังคลุมเครือ

ความสัมพันธ์จีนและไต้หวัน

ถ้าพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมาอย่างยาวนานแต่ดูเหมือนจะดีขึ้นตั้งแต่ปี 1980 เนื่องจากเกาะไต้หวันได้ผ่อนคลายมาตรการบางอย่าง เช่นการลงทุนในประเทศจีน รวมทั้งประกาศว่าสงครามระหว่าง ไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่ได้ยุติลงแล้วในปี ค.ศ. 1991

ถัดมาจีนแผ่นดินใหญ่เสนอแนวทางอยู่ร่วมกับไต้หวันคือการที่มี “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ซึ่งจีนแผ่นดินใหญ่บอกว่าถ้าเป็นแบบนั้นได้จะยอมให้ไต้หวันมีอิสระแต่ต้องอยู่ในส่วนหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งระบบหนึ่งประเทศสองระบบ ทำให้เอื้อต่อการกลับมาของเกาะฮ่องกงที่จะมาอยู่ในการปกครองของจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งในปี 1997

แต่ทว่าไต้หวันได้ปฏิเสธข้อเสนอที่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่ ทางจีนแผ่นดินใหญ่ยังย้ำว่ารัฐบาล ROC ของไต้หวันไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรก ซึ่งการเจรจาระหว่าง เกาะไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นไปอย่างจำกัด

เมื่อปี 2000 ไต้หวันมีการจัดการเลือกตั้งซึ่งได้ Chen Shui-bian มาเป็นประธานาธิบดี ซึ่งส่งสัญญาณ และแรงสั่นกระเพื่อมไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ Chen อยู่พรรค DPP หรือฝั่งประชาธิปไตย ซึ่งมีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะนำพาไต้หวันออกมาจากจีนเป็นเอกราชของตนเอง

การกระทำดังกล่าวทำให้จีนผ่านกฎหมายต่อต้านการแยกตัวออกของแต่ละภูมิภาค และระบุว่าสามารถใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการต่อต้านการแยกประเทศรวมถึงสามารถใช้ความรุนแรงได้

และในปี 2016 ไต้หวันมีประธานาธิบดี คนปัจจุบันคือ ไช่ อิงเหวิน ได้รับการเลือกตั้งซึ่งมีแนวทางที่ชัดเจนต่อจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกันคือการแยกตัวออกมา และเธอเคยบอกว่าไต้หวันมีคุณสมบัติครบแล้วทุกอย่างในการเป็นประเทศ

ในปี 2018 จีนแผ่นดินใหญ่ได้กดดันไปยังบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อไม่ให้รับรองไต้หวันเป็นประเทศ หากไม่ระบุว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนก็ห้ามทำธุรกิจการค้ากับจีนแผ่นดินใหญ่ไปเลย

ไช่ อิงเหวิน ได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งเป็นสมัยที่สองในปี 2020 ซึ่งได้คะแนนเสียงถล่มทลายอย่างไม่เคยมีมาก่อนถึง 8.2 ล้านคะแนน ซึ่งเป็นปีที่เกาะฮ่องกงเผชิญความยากลำบากของความพยายามยามในการแยกตัวออกมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ และมีเหตุความไม่สงบอยู่หลายเดือน ซึ่งเกาะฮ่องกงได้รับการจับตามองสถานการณ์จากเกาะไต้หวันอย่างใกล้ชิด

ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดี ไต้หวัน ได้รับคะแนนถล่มทะลายในการเลือกตั้ง
ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดี ไต้หวัน ได้รับคะแนนถล่มทะลายในการเลือกตั้ง

ปัญหานี้ใหญ่แค่ไหน

ความก้าวหน้าทางการเมือง และเศรษฐกิจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับสองพื้นที่ที่คลุมเครือ อย่างจีนแผ่นดินใหญ่ และเกาะไต้หวัน

ตัวเลขทางการของเกาะไต้หวัน ที่เข้าไปลงทุนในประเทศจีนก็มีค่อนข้างสูงถึง 157.9 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ชาวไต้หวันบางคนกังวลว่าเศรษฐกิจของพวกเขาจะต้องพึ่งพาจีน และความใกล้กันทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นนี้เองทำให้หลาย ๆ คนเชื่อว่า จีนแผ่นดินใหญ่จะไม่เข้ามาดำเนินการทางทหารบนเกาะไต้หวันซึ่งหากมีการถอนทุนไปก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนเช่นเดียวกัน

ข้อตกลงทางการค้าเหล่านี้ทำให้เกิดชนวนของความขัดแย้งไปยังนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งเยาวชน นักศึกษา และอื่น ๆ ทำให้มีการเดินขบวนเข้ายึดสภาของไต้หวันเพื่อประท้วงไม่ให้ จีนมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเหนือไต้หวันในปี 2014

ผลสำรวจล่าสุดระบุว่า ชาวไต้หวันจำนวนมากสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลใน "การปกป้องอธิปไตยของชาติ"
ผลสำรวจล่าสุดระบุว่า ชาวไต้หวันจำนวนมากสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลใน “การปกป้องอธิปไตยของชาติ”

ซึ่ง พรรค DPP ยังสนับสนุนให้มีการแยกตัวออกมาเป็นอิสระของไต้หวัน และในขณะเดียวกันอีกขั้วทางการเมืองของพรรค KMT สนับสนุนให้ไต้หวันยังอยู่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งดูแล้วเหมือนคนส่วนใหญ่ของประเทศจะสนับสนุนพรรค DPP ในการทำเอกราชของไต้หวันให้ชัดเจนมากกว่า

ซึ่งผลสำรวจล่าสุดในปี 2022 จะเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่ในไต้หวัน สนับสนุนให้มีการคงสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไว้คือ การไม่มีกำหนดในการทำเอกราชของไต้หวันให้ชัดเจน หรือทำให้ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน นอกจากนั้นมีผู้ที่บอกให้ไต้หวันแยกเป็นเอกราช 5.2% และ สนับสนุนให้รวมกับจีนเพียง 1.3%

สหรัฐอเมริกา เกี่ยวอะไรด้วยกับกรณีนี้

แม้แต่สหรัฐฯ ประเทศที่ดูเหมือนจะเคียงข้างเกาะไต้หวันอย่างชัดเจน (ทางการสื่อสาร) แต่ก็ไม่ได้รับรองทางกฎหมายว่า เกาะไต้หวันเป็นประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายที่คลุมเครือของประเทศ สหรัฐอเมริกา ที่เป็นแบบนี้มาอย่างยาวนานแล้ว ถึงแม้จะออกประกาศว่า จะเข้าไปแทรกแซงทางทหารอย่างแน่นอนหากมีการบุกไต้หวันโดยจีนแผ่นดินใหญ่

ซึ่งความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่าง สหรัฐฯ – จีนแผ่นดินใหญ่ – ไต้หวัน

ดูเหมือนว่าทางสหรัฐฯ จะมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินไหญ่ที่ชัดเจนกว่า เกาะไต้หวันที่มีความคลุมเครือว่าตกลงสหรัฐฯ จะเอาอย่างไรกับไต้หวันกันแน่ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังให้คำมั่นกับไต้หวันว่าจะช่วยจัดหาอาวุธในการปกป้องเกาะไต้หวันหากมีการโจมตีใด ๆ ที่เกิดจากจีนแผ่นดินใหญ่

ซึ่งทำเนียบขาวออกประกาศชี้แจงอย่างเป็นทางการถึงจุดยืนของสหรัฐฯ ที่มีต่อนโยบายจีนเดียว ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจุดยืนนี้แต่อย่างใด ถึงแม้จะมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อจีนแผ่นดินใหญ่

ในประเด็นนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ของจีนและสหรัฐฯ มีความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นไปอีกด้วย โดยจีนแผ่นดินใหญ่ได้ประณามการกระทำของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการมาเยือนของแนนซี เพโลซี ประธานสภาของสหรัฐฯ ไปยังไต้หวัน ถึงแม้โจ ไบเด้น จะออกมาท้วงติงการกระทำของ แนนซี เพโลซี ก่อนหน้านี้ว่า การไปเยือนไต้หวันในครั้งนี้อาจจะยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมมากนักก็ตาม

แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน ในปี 2022 วันที่ 3 สิงหาคม ตามเวลาประเทศไทย
แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน ในปี 2022 วันที่ 3 สิงหาคม ตามเวลาประเทศไทย
karnnikro
karnnikrohttps://www.karnnikro.com
MD of NIKRO GROUP CO.,LTD. และบรรณาธิการบริหาร BIGDREAMBLOG | License holder TEDxBangKhunThian | อดีตที่ปรึกษาประธาน กมธ พัฒนาการเมืองฯ | อดีตรองผู้อำนวยการมติชนอีเว้น | Entrepreneurship Degree & Law School | อยากได้สิ่งที่ไม่เคยได้ต้องทำสิ่งที่ไม่เคยทำ | รักแมววว

Similar Articles

Comments

Leave a Reply

Instagram

ที่ปรึกษาการตลาด / จัดอีเว้นท์ / ที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจ | ปรึกษา | กฎหมาย | ธุรกิจ การตลาด อีเวนต์

Most Popular