งีบ เราควร งีบ นานแค่ไหนในแต่ละวัน

Reading Time: 2 minutes

งีบ หรือการนอนพักระหว่างวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบางคน หรืออาจมีข้อสงสัยว่าการงีบมันจะทำให้เสียเวลาหรือเปล่า และการงีบควรจะใช้เวลาเท่าไหร่ในแต่ละวันกันล่ะ

Stage ของการนอน

การนอนของเรามีทั้งหมด 4 ระยะ  ซึ่งเราจะใช้เวลาอย่างน้อง 90 นาทีสำหรับการไปให้ครบทั้ง 4 ระยะนั้น ส่วนการงีบนั้นสามารถทำได้ยาวนานตั้งแต่ 5 นาที ไปจนถึง 3 ชั่วโมง ซึ่งนั่นหมายถึงคุณสามารถ ไปครบทุกระยะของการนอนหลับได้เลย หรือไม่ก็ได้เพียงไม่กี่สเตจ

  • ระยะที่ 1 คือช่วงที่ใช้เวลาประมาณ 2-5 นาทีแรกของการนอน
  • ระยะที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากระยะแรก ในระยะที่สอง อุณหภูมิร่างกายจะลดลง กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายขึ้น และการหายใจกับ อัตราการเต้นของหัวใจจะนิ่งขึ้น เซลล์ประสาทจะเริ่มส่งกระเเสประสาท อย่างพร้อมเพรียงกัน ทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าสมอง ซึ่งเคลื่อนที่ไปทั่วสมองส่วนนอก คั่นด้วยสัญญาณที่มีความสั้นและรวดเร็ว เรียกว่า สลีพ สปินเดิล ในการนอนหลับของร่างกายระยะนี้จะช่วยกระตุ้นความจำระยะสั้น รวมไปถึงเพิ่มสมาธิได้
  • เข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ ระยะหลับลึก (Deep sleep) จำนวนคลื่นสัญญาณจะเพิ่มมากขึ้น จากการที่เซลล์ประสาททำงานประสานกัน ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที และเป็นช่วงที่คุณจะหลับลึกที่สุด
  • ต่อมาระยะที่ 4 คุณจะเข้าสู่ระยะที่มีการกลอกของลูกตา ที่เรียกว่า REM SLEEP (Rapid Eye Movement Sleep) ซึ่งมีระยะเวลา 10 ถึง 20 นาทีในหนึ่งการงีบ ในระยะนี้ สมองจะทำงานมากขึ้น คล้ายกับตอนที่คุณตื่น จุดสิ้นสุดของระยะที่มีการกลอกของลูกตา บอกถึง การครบรอบของวงจรการนอนหลับ

การ งีบ ดีจริงไหม?

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะระยะ และเวลาของการนอนที่คุณงีบในแต่ละวัน

5-30 นาที

เช่น ในการงีบ 30 นาที จะประกอบด้วย การนอนระยะที่ 2 เป็นหลัก ระยะที่ 2 จะเกี่ยวข้องกับศักยภาพในระยะยาว กระบวนการที่คาดว่าจะเสริมประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ การงีบ 20 ถึง 30 นาทีจะหมดลงก่อน การเข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งคือการหลับลึก ทำให้การตื่นนอนนั้นค่อนข้างง่าย

30นาที – 1 ชั่วโมง

ในขณะเดียวกัน การงีบ 30 ถึง 60 นาทีจะได้รับประโยชน์จากการนอนในระยะที่ 2 และยังพาคุณไปยัง การนอนที่ลึกขึ้นในระยะที่ 3 อีกด้วย ในระยะที่ 3 สมองหลายส่วน จะทำงานร่วมกันในการถ่ายโอนข้อมูล จากหน่วยจัดเก็บความจำระยะสั้น ไปยังหน่วยจัดเก็บความจำระยะยาว ทำให้ความทรงจำระยะยาวนั้น อยู่นานขึ้นและลืมยากขึ้น โดยการเชื่อมสัญญาณที่มีความสั้นและรวดเร็ว กับคลื่นสมองความถี่ต่ำ ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นยากที่สุด แม้ว่า การงีบเป็นเวลา 30 ถึง 60 นาที จะมีประโยชน์ในด้านการเรียนรู้ ประโยชน์ตรงนั้นมักไม่ค่อยมีผล จนกว่าจะผ่านไป 15 นาทีหลังตื่นนอน

1ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง

การงีบ 60 ถึง 90 นาที จะก้าวเข้าสู่ระยะ REM SLEEP ที่มีการกลอกของลูกตา ในระยะนี้ สมองส่วนหน้าที่ใกล้กับหน้าผาก ซึ่งควบคุมเกี่ยวกับ ความยับยั้งชั่งใจและการคิดไตร่ตรอง จะทำงานน้อยลง
ในขณะเดียวกัน สมองส่วนอะมิกดาลาและ ซิงกูเลท คอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์ และแรงผลักดัน จะทำงานมากขึ้น

สมองส่วนอะมิกดาลา กับการ งีบ
สมองส่วนอะมิกดาลา

นักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การทำงานของสมองส่วนต่าง ๆ นี้ นำไปสู่การเกิดฝันสุดประหลาด ในระยะที่มีการกลอกของลูกตา การลดลงของความสามารถ ในการยับยั้งชั่งใจและคิดไตร่ตรอง อาจเกี่ยวกับความพิสดารที่เกิดขึ้น เป็นเพราะการทำงานของสมองทั้งสองส่วน ที่ทำให้เราดึงเรื่องที่เรามีอารมณ์ร่วมอย่างมากมาฝัน

นักวิจัยบางคนคาดว่าระยะนี้ อาจช่วยเรื่องการเชื่อมต่อกัน ของความคิดใหม่ ๆ เมื่อเราตื่น เพราะสมองที่ทำงานในระยะ REM ที่มีการกลอกของตา อยู่ใกล้กับการตื่นนอน มันเลยอาจเป็นเหตุผลของการที่เราตื่น ง่ายกว่าในระยะนี้ มากกว่าในระยะที่ 3 แม้ว่าเราจะงีบนานกว่าก็ตาม

ช่วงเวลาที่เราเลือกที่จะนอนหลับ

เวลาที่เราเลือกในการงีบในแต่ละวันก็มีผลต่อสุขภาพการนอนโดยรวมเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณงีบในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอนมาได้ไม่นาน ระยะของการนอนของคุณจะอยู่ที่ REM Sleep โดยส่วนใหญ่ และ ถ้างีบในช่วงกลางวัน จะมีระยะ Deep sleep และ REM Sleep ในระดับที่เท่า ๆ กัน ส่วนถ้าเราเลือกงีบในช่วงค่ำ เราจะมีระยะ Deep sleep มากกว่านั่นเอง

Eventually

มีการแบ่งคนจำพวกที่ชอบงีบในแต่ละวัน กับไม่ชอบงีบ พบว่า คนที่ชอบงีบจะได้รับประโยชน์ในการงีบนำมาซึ่งการเข้าสู่ระยะการนอนในแต่ระยะได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ชอบงีบ ด้วยเหตุผลเพราะ คนที่ชอบงีบนั้นสามารถอยู่ในภาวะที่หลับไม่ลึกมากได้

ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่มีพฤติกรรมการงีบ จะมีโอกาสสูงกว่าที่จะเข้าสู่ระยะของการหลับลึกได้ง่ายมากกว่าเมื่อทำการงีบ ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกอ่อนล้าหลังจากการงีบ

ส่วนคำถามที่ว่าการงีบดีต่อเรามั้ย คำตอบก็คงต้องทดลองเองล่ะครับ

karnnikro
karnnikrohttps://www.karnnikro.com
MD of NIKRO GROUP CO.,LTD. และบรรณาธิการบริหาร BIGDREAMBLOG | License holder TEDxBangKhunThian | อดีตที่ปรึกษาประธาน กมธ พัฒนาการเมืองฯ | อดีตรองผู้อำนวยการมติชนอีเว้น | Entrepreneurship Degree & Law School | อยากได้สิ่งที่ไม่เคยได้ต้องทำสิ่งที่ไม่เคยทำ | รักแมววว

Similar Articles

Comments

Leave a Reply

Instagram

ที่ปรึกษาการตลาด / จัดอีเว้นท์ / ที่ปรึกษากฎหมายธุรกิจ | ปรึกษา | กฎหมาย | ธุรกิจ การตลาด อีเวนต์

Most Popular