หากใครเป็นนักอ่่าน หรือพอจะรู้จักวงการหนังสือมาบ้างคงไม่มีใครไม่รู้จัก จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักเขียนผู้โด่งดังและมีผลงานเขียนที่เป็นที่รู้จักในสังคมวงกว้างอย่าง 1984 และอีกเล่มที่นายกไทยได้แนะนำ นั่นก็คือ Animal Farm และอะไรคือแนวทางการเขียนของ จอร์จ ออร์เวลล์ ที่ทำให้งานเขียนของเขาถูกพูดถึงเป็นระยะเวลายาวนานขนาดนี้

การสื่อสารที่ดีจะช่วยให้คุณทำงานต่าง ๆ ได้ง่ายและหลากหลายมากยิ่งขึ้น การเขียนก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการสื่อสารที่ถ้าใช้ได้ดีก็ทรงพลังและสามารถใช้เพื่อเปลี่ยนโลกได้เช่นกัน แบบที่ จอร์จ ออร์เวลล์ ทำมาแล้ว
เราพาทุกคนย้อนกลับไปในปี 1964 ซึ่งจอร์จ ได้เขียนบทความที่ชื่อ “Politics and the English Language” ซึ่งเป็นบทความของจอร์จออร์เวลล์ที่วิพากษ์วิจารณ์การเขียนภาษาอังกฤษที่ “น่าเกลียดและไม่ถูกต้อง” ในช่วงที่เขากำลังตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่าง นิกายออร์โธดอกซ์ทางการเมืองกับความเสื่อมโทรมของภาษา
โดย จอร์จ ออร์เวลล์ ให้คำแนะนำในเรื่องการเขียนไว้ทั้งหมด 6 ข้อ
- อย่าใช้คำอุปมา อุปไมย หรือการเปรียบเทียบแบบอื่น ๆ ที่คุณมักเห็นในสื่อสิ่งพิมพ์
- อย่าใช้คำยาว ๆ ถ้าคุณสามารถทำให้มันสั้นลงได้
- ถ้าอ่านแล้วตัดคำใดคำหนึ่งออกไปได้ ให้ตัดออกไปเสมอ
- อย่าใช้คำที่ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หากใช้คำที่ประธานเป็นผู้กระทำได้เสมอ
- อย่าใช้ศัพท์เฉพาะทาง คำในเชิงวิทยาศาสตร์ หากเราสามารถใช้คำที่พบเจอในชีวิตประจำวัน
- ทิ้งกฏพวกนี้ซะ หากคุณจะเขียนอะไรที่ไม่ได้เรื่องออกมา

1. อย่าใช้คำอุปมา อุปไมย หรือการเปรียบเทียบแบบอื่น ๆ ที่คุณมักเห็นในสื่อสิ่งพิมพ์
การใช้อุปมา โวหารที่ยากจะเข้าใจ เพื่อทำให้ดูมีหลักการมากขึ้น จริง ๆ แล้วมันทำให้คนอ่านต้องไปนั่งตีความอีกรอบไม่ได้ช่วยให้เข้าใจได้ทันที และผู้อ่านที่ไม่ได้อยากรู้อุปมาอุปไมยนี้มากพอ ก็จะทิ้งไว้ซึ่งความไม่เข้าใจในบทความ หรือหากเป็นสมัยนี้ก็จะกดปิดไปเลย

2. อย่าใช้คำยาว ๆ ถ้าคุณสามารถทำให้มันสั้นลงได้
หากใช้คำที่สั้นได้ แล้วคำนั้นสามารถอธิบายมันได้ดีพอแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหาคำที่ยาวกว่าหรือประโยคที่ยืดเยื้อเพื่่อให้มันยาวขึ้น

3. ถ้าตัดคำใดคำหนึ่งได้ในประโยค ให้ตัดออกไปเสมอ
การอ่านทวนสิ่งที่ตัวเองเขียนแล้วหากเราคิดว่าตัดคำนี้ออกไปแล้วรูปประโยคยังคงสมบูรณ์อยู่่ ก็ให้ตัดออกไปได้เลย เพราะหากเพิ่มคำนั้นเข้ามาแล้วไม่มีประโยชน์ที่ทำให้คนอ่านเข้าใจมันมากขึ้น ก็ตัดออกไปดีกว่า

4. หากเลือกได้ให้ใช้ active voice มากกว่า passive voice
การเขียนในภาษาอังกฤษ มันจะมีประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (passive voice) ยกตัวอย่างเช่น “ฉันถูกรถชน” แต่ออร์เวลล์แนะนำว่าให้ใช้ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ (active voice) เช่น “รถชนฉัน”

5. อย่าใช้ศัพท์เฉพาะทาง ถ้าสามารถใช้คำในชีวิตประจำวันได้
หากมีคนมาอธิบายว่า “ฉันทำให้ข้าวล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ” เราคงรู้สึกปลก ๆ หากใช้คำว่า “ฉันกินข้าว” ซึ่งสั้นและกระชับกว่า และยังง่ายต่อความเข้าใจได้เพราะเป็นคำที่เราใช้กันทุกวันอยู่แล้ว

6. ทิ้งกฏพวกนี้ไป ถ้าคุณอยากจะเขียนอะไรที่ไม่ได้เรื่อง
ในที่นี้ออร์เวลล์ หมายรวมถึงการเขียนอะไรที่ไม่มีอารยธรรม ป่าเถื่อนออกมา ก็ให้ทิ้งกฏทั้ง 5 ข้อข้างต้นไปเลย เพราะสิ่งที่คุณเขียนออกมาอาจจะไม่ได้เรื่องและยากต่อการเข้าใจ ยังทำให้การเขียนของคุณดูเป็นพวกไม่มีอารยธรรมอีกด้วย !
โดยสรุปแล้วก็คือ
กฏแห่งการเขียนที่กลั่นกลองจากประสบการณ์ของ จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนที่เขียนงานเปลี่ยนโลกอย่าง 1984, Animal farm ได้ให้คำแนะนำไว้ ถือเป็นคำแนะนำที่เราละเลยไม่ได้ และหากใครที่คิดจะเขียนแต่ยังไม่มีแนวทางในการเขียนนั้น สามารถยึดกฏทั้ง 6 ข้อที่ ออร์เวลล์ เขียนไว้มาเป็นโครงในการเขียนได้เช่นเดียวกัน เพราะการเขียนเป็นสื่อสารที่สามารถทำให้ทรงพลัง หรือสร้างความไม่เข้าใจได้เช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าเราจะเขียนมันแบบไหน
References
– George Orwell (1964), Politics and the English Language.; Penguin edition
– Goodman, Paul (July 1945). “The Political Meaning of Some Recent Revisions of Freud”. Politics: 197–203.
– Evan Baehr and Evan Loomis (2015), Get Backed, p. 67.; Harvard Business Review Press
=======
ถ้าชอบโพสต์นี้อย่าลืมกดไลค์
ถ้ารู้สึกว่าเป็นอย่าลืมกดแชร์
เพื่อเป็น feedback ให้กันนะครับ ❤
~~~~~~~~~~~~~~~~~
อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ
#bigdreamblog #bigdream
follow us |
กดติดตามเพจ Big Dreams และกด see first
เพื่อไม่พลาดบทความดีๆแบบนี้ทุกวันนะครับ
รัก รัก ❤ เรามาเป็นของขวัญให้กันและกันนะ
Website : https://www.bigdreamblog.com
Youtube : https://bit.ly/2YJX96U
Instagram : https://bit.ly/3qBu4pP
Linkedin : https://bit.ly/3kX8qZm