Copywriting เก่งขึ้นด้วยเล่มนี้ รีวิว สรุปหนังสือ ใช้คำให้ฉลาด

Reading Time: 2 minutes
copywriting ใช้คำให้ฉลาดรีวิวหนังสือ
Reader Rating3 Votes
8.3
7.5
คะแนน

Copywriting เป็นทักษะที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตอย่างอื่นทั้งการพูด การเขียน การเล่าเรื่อง ให้กระชับและจับใจ เพราะพื้นที่ของการเขียนคำ Copy นั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีจำกัดพื้นที่ของมันอยู่ และหนังสือเล่มนี้จะช่วยทักษะ ของการใช้คำของคุณเก่งขึ้นได้ และนี้คือรีวิว กึ่ง สรุป ของเราครับหนังสือของ ซาซากิ เคอิจิ

ทำไม Copywriting ถึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

คนที่เขียน คำโฆษณา เก่ง ๆ มักเป็นคนที่มีวาทศิลป์ พูดจาคมคาย และทำให้ผู้คนคล้อยตามได้ง่าย ซึ่งมันไม่ได้เป็นเรื่องของการเขียนเพียงอย่างเดียว  มันยังส่งผลไปยังเรื่องอื่น ๆ การพูด การสื่อสาร รวมทั้งทักษะการโน้มน้าวอีกด้วยล่ะครับ คนที่ฝึกในด้านนี้เก่ง ๆ ก็สามารถเป็นที่ต้องการในสายการทำงานได้เลย

หนังสือ แค่ใช้คำให้ฉลาดก็เพิ่มโอกาสจาก 0 เป็น 100 ที่เขียนโดยสุดยอดนักคิด คำโฆษณา มือหนึ่งของญี่ปุ่น นั้นให้คำแนะนำและหลักการของการคิดคำไว้ด้วย

copywriting-ใช้คำให้ฉลาดก็เพิ่มโอกาสจาก-0-เป็น-100รีวิวหนังสือ หนังสือของ ซาซากิ เคอิจิ
copywriting-ใช้คำให้ฉลาดก็เพิ่มโอกาสจาก-0-เป็น-100รีวิวหนังสือ หนังสือของ ซาซากิ เคอิจิ

เริ่มต้นของหนังสือ

หนังสือเปิดมาด้วยการเริ่มให้เราเชื่อว่า การมีวาทศิลป์ หรือเก่งในการเลือกใช้คำนั้นเป็นเรื่องที่สามารถฝึกกันได้ และไม่ใช่สิ่งที่คนที่มีพรสวรรค์เท่านั้นที่สามารถทำได้

ซาซากิ ซังเขายกตัวอย่างถึงตัวเขาเองที่ไม่ได้เป็นคนที่เก่งเลย โดยเฉพาะตอนเด็ก เขาเป็นคนที่ต้องย้ายที่อยู่บ่อย ๆ ซึ่งทำให้เขาต้องย้ายโรงเรียนตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้เขาแทบจะไม่ค่อยกล้าสร้างสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ เลยเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างเงียบ ๆ ทักษะการสื่อสารของเขาจึงแทบจะไม่ได้พัฒนา การพูด และการเขียน ก็ไม่เก่ง

แต่หลังจากพอเรียนจบ ซาซากิ ได้ทำงานด้านการเขียน คำโฆษณา ซึ่งเขาบอกว่าในช่วงทำงานตอนแรกมันทรมานมาก ๆ และเคยโดนเพื่อนร่วมงาน กล่าวว่า งานเขียนของเขาเป็นการที่เขียนเรื่อง “ไร้สาระบนกระดาษ เพื่อทำลายสิ่งแวดล้อม” เพราะงานมันใช้ไม่ได้ ซาซากิซัง จึงบอกว่าที่เพื่อนร่วมงานเขาพูดน่ะก็ถูก เพราะงานของเขามันห่วยจริง ๆ

หลังจากการโดนต่อว่าหลายต่อหลายครั้ง มันทำให้เขาเชื่อว่าเขาเองเป็นคนที่ไร้ความสามารถ และทำให้เขายิ่งเชื่อว่าทักษะการเขียน การเลือกใช้คำ เป็นทักษะที่ต้องใช้พรสวรรค์ ไม่สามารถฝึกให้เก่งขึ้นได้แน่ ๆ (อย่างน้อยที่สุดสำหรับเขา) ในขณะเดียวกันเขามองไปที่เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ที่มีทักษะดีขึ้นทุกวัน ๆ

แต่อย่างไรก็ดีเขาเลือกที่จะไม่ยอมแพ้และหมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งการอ่านหนังสือ การฝึกฝน การใช้คำบ่อย ๆ ทำให้เขาค้นพบวิธีที่ทำให้การเลือกใช้คำน่ะ ดีขึ้นได้ ซึ่งเขาบอกว่ามันเป็นหลักการเลยล่ะครับ

การเลือกใช้คำให้ได้ผลนั้นมีเทคนิคง่าย ๆ”
“เราสร้างคำพูดที่น่าประทับใจได้”

ซาซากิ เคอิจิ

ซึ่งสิ่งที่เขาค้นพบนั้นทำให้เขากลับมามีความสุขกับการทำงาน และได้เขียนเทคนิค ลงไปในหนังสือเพื่อแบ่งปันเทคนิคเหล่านี้ออกไปทั่วโลกจนเป็นหนังสือขายดีเลยล่ะครับ

ชวนออกเดตอย่างไรให้น่าสนใจ

หากเราจะเปิดว่า “ไปเดตกันนะครับ” ส่วนใหญ่ก็จะปฏิเสธกันหมด หากเปลี่ยนคำถามเป็น “ผมรู้จักร้านพาสต้าเปิดใหม่ อร่อยมากอยู่ร้านหนึ่ง ไว้ไปทานด้วยกันนะครับ” ก็จะดูน่าสนใจและน่าตอบตกลงมากขึ้น

นั้นเป็นเทคนิคแรกที่ซาซากิเล่าไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือ

ส่วนเทคนิคถัด ๆ มา คือเรื่องของคำ

เขาบอกว่า คำที่ถูกพูดซ้ำบ่อย ๆ อาจจะเป็นคำคมของบุคคลสำคัญหรืออื่น ๆ มันจะมีหลักการที่ทำให้น่าสนใจมากขึ้น แล้วเขาก็ยกตัวอย่างคำคมอย่าง

  • “อย่าใช้สมอง จงใช้หัวใจ”
  • “หนังสือเล่มเล็ก ๆ แต่บอกเล่าเรื่องราวอันยิ่งใหญ่”
  • “ความตายไม่มีความหมาย การมีชีวิตอยู่ต่างหากล่ะ”

คำดังกล่าวข้างต้นนี้ ดูเหมือนจะเป็นคนละเรื่อง แต่จริง ๆ แล้วมีโครงสร้างของประโยคที่เหมือนกันนั่นก็คือ
“คำที่ให้ความรู้สึกตรงกันข้ามกัน”

  • ใช้สมอง <–> ใช้หัวใจ
  • เล่มเล็ก <–> ยิ่งใหญ่
  • พบเจอ <–> จากลา

แค่เราเลือกคำที่ให้ความรู้สึกตรงกันข้ามกันอย่างเหมาะสม ก็จะได้คำดี ๆ จากมันได้ โดยไม่ใช่เรื่องบังเอิญครับ

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมชอบ

ในหนังสือเล่มนี้ก็คือเรื่องของการใช้คำที่ถูกต้อง หรือคำที่สื่อสารได้ตรงใจกว่า ซาซากิซัง เขาบอกว่า การเขียนคำ หรือการพูด ถูกออกแบบมาเพื่อการสื่อสาร ถ้าคำใดใช้สื่อสารได้ดีกว่าควรจะเลือกคำนั้น ถึงแม้มันจะผิดหลักไวยากรณ์

ซึ่งตอนแรกผมแอบกังวลเรื่องนี้ เพราะหากทำงานด้านการเขียนแบบผมนี้ การเขียนให้ถูกต้องถือเป็นหลักที่สำคัญมาก ๆ เพราะมันจะส่งผลให้ผู้อ่านรู้สึกรำคาญและไม่อยากอ่านต่อไปได้

ซาซากิซัง ยกตัวอย่างถึงคำภาษาญี่ปุ่นอย่าง “ไอชิเตะอิรุ” ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “รักนะ” คำคำนี้ถูกหลักไวยากรณ์ 100% แต่เวลาอ่านมัน มันจะเป็นความรู้สึกบอกรักที่ไม่มีความรู้สึกในคำนั้น เหมือนเป็นการเขียนรายงานผลเชิงสถิติคำว่า “รักนะ” มากกว่า

ส่วนคำว่ารักนะ ในภาษาญี่ปุ่น ที่เราจะได้ยินกันในหนัง ภาพยนตร์ หรือซีรีส์ คือภาษาพูดอย่าง “ไอชิเตะรุ” คำคำนี้เป็นคำที่เขียนผิด แต่ผู้อ่าน จะรับได้ถึงความรู้สึกว่า “รักนะ” มากกว่าคำแรก ซาซากิซังจึงแนะนำให้ใช้คำหลังมากกว่า เพราะตรงเป้าหมายของการสื่อสารมากกว่า

หนังสือบอกเทคนิคละเอียดมาก

ยกตัวอย่างในหนังสือมาแล้ว 2 ข้อ ซึ่งเป็นเชิงแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องคำ แต่ด้วยความที่เป็นหนังสือโดยมีผู้เขียนเป็นคนญี่ปุ่น ธรรมชาติของความญี่ปุ่นจะมีการ ยกตัวอย่างให้เห็นโดยละเอียดเลยล่ะครับว่า ถ้าสถานการณ์แบบนี้ให้ใช้คำแบบไหน เช่นการจะให้ใครไปอ่านหนังสือ หากเราใช้คำว่า “ไปอ่านหนังสือเดี่ยวนี้” คำนี้จะไม่ส่งผลดีเท่ากับคำที่ทำกันเป็นทีมอย่าง “ไปอ่านหนังสือกันเถอะ”

กล่าวโดยสรุปหนังสือเล่มนี้

เรียกว่าเป็นหนังสือ How-To ที่อ่านเพลิน ๆ ด้วยความที่มันไม่ได้เป็นเรื่องยาว ๆ สามารถจบบทได้ในตอนแล้วก็มีหลากหลายสถานการณ์ให้เลือกใช้ เวลาคุณอยากรู้อะไรสามารถเปิดสารบัญอ่านเรื่องนั้นได้ทันทีโดยไม่รู้สึกว่างงเลยนะครับ

เป็นเล่มที่คนอยากพัฒนาการเขียน การใช้คำ ถือว่าตอบโจทย์ ยิ่งทำงาน Copywriter ก็เป็นหนังสือที่ไม่ควรพลาด ซึ่งมันทำให้เราสามารถจัดการสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จากการใช้คำของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำธุรกิจ การเรียน หรือแม้แต่เรื่องความสัมพันธ์เอง

หนังสือเล่มนี้บอกว่าชีวิตคุณจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับคำที่เราเลือกใช้ แค่ใช้คำอย่างฉลาด ก็สามารถเพิ่มโอกาสจาก 0 เป็น 100 ได้อย่างง่ายดาย

รายละเอียดหนังสือ

83_ปกหน้า_แค่ใช้คำให้ฉลาดก็เพิ่มโอกาสจาก_0_เป็น_100
แค่ใช้คำให้ฉลาดก็เพิ่มโอกาสจาก 0 เป็น 100
  • ผู้เขียน  ซาซากิ เคอิจิ
  • ผู้แปล   ทินภาส พาหะนิชย์
  • ขนาด   12.7 x 18.5 เซนติเมตร
  • จำนวนหน้า 216
  • สำนักพิมพ์ Welearn

คุณอ่านแล้วให้กี่คะแนน

Reader Rating1 Vote
82

copywriting ใช้คำให้ฉลาดรีวิวหนังสือ
Copywriting เก่งขึ้นด้วยเล่มนี้ รีวิว สรุปหนังสือ ใช้คำให้ฉลาด
ภาพรวม
หนังสืออ่านง่าย มีเทคนิคที่นำไปใช้ได้แบบเต็ม ๆ ถือว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์มากเล่มหนึ่งครับ
เนื้อหา บท การเล่าเรื่อง
7.5
Reader Rating3 Votes
8.3
7.5
คะแนน
karnnikro
karnnikro
MD of NIKRO GROUP CO.,LTD. และบรรณาธิการบริหาร BIGDREAMBLOG | License holder TEDxBangKhunThian | ที่ปรึกษาประธาน กมธ พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน | MBTI - ENFP | Entrepreneurship Degree | อยากได้สิ่งที่ไม่เคยได้ต้องทำสิ่งที่ไม่เคยทำ | รักแมววว

Related Stories

12,249แฟนคลับชอบ
2,031ผู้ติดตามติดตาม
3,123ผู้ติดตามติดตาม
16,388ผู้ติดตามติดตาม
145 ผู้ติดตาม
ติดตาม

Discover

ยูเครน ครบ 1 ปีของการรุกราน

ยูเครน : 1 ปี ปูติน รุกราน #ยูเครน ตอนนี้ไปทางไหน? สถานการณ์เป็นอย่างไร? อะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วปูตินได้สิ่งที่ต้องการหรือยังบทความนี้จะสรุปสถานการณ์ให้ครับ

รีวิวแอนท์แมน Ant-Man and the Wasp: Quantumania

แอนท์แมน 3 กับการเปิดตัว แคง เดอะคองเคอร์เรอ หรือ แคง ผู้พิชิต กับการเริ่มต้นของ เฟส 5 อย่างเป็นทางการ ซึ่งโชว์ความสามารถของตัวร้ายของเฟสนี้ว่าเลวร้ายแค่ไหน และนี้คือรีวิวของเราครับ

ยอดมนุษย์ดาวเศร้า | หนังสือเยียวยาความโดดเดี่ยว

มีวาฬอยู่ตัวหนึ่ง ที่ถูกพบว่ามันอยู่ตัวเดียวตลอดมาเป็นวาฬที่นักวิทยาศาสตร์ติดตามมันเป็นเวลามากกว่า 20 ปีหลังจากที่พวกเขาค้นพบคลื่นความถี่ที่สูงถึง 52Hzจึงตั้งชื่อวาฬตัวนี้ว่า 52Hz วาฬ ใช้คลื่นความถี่ในการสื่อสารถึงกันและกัน แต่เจ้า 52Hz มีความถี่ที่สูงกว่าตัวอื่นที่จะมีความถี่ประมาณ 15-25 Hz ทำให้ตัวอื่นไม่ได้ยินเสียงมัน และเช่นเดียวกันมันก็ไม่ได้ยินเสียงของวาฬตัวอื่น วาฬ...

การบริหาร แบบมี สุนทรียะ หลักสูตร ATA: Topart by UTCC

หลักสูตรแรกในประเทศไทยของผู้บริหารระดับสูง ATA : Aesthetics Top Executive Program in Aesthetics and Art ที่จะได้เรียนรู้ถึงความเป็นสุนทรีย์

When Snowflakes Fall: หนาวนี้เปลี่ยนไป เพราะกำลังใจไม่เหมือนเดิม

When Snowflakes Fall: หนาวนี้เปลี่ยนไป เพราะกำลังใจไม่เหมือนเดิม ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก "River City Bangkok" กับงานที่รวมศิลปินชื่อดังมาตีความหิมะที่ต่างกัน ในนิทรรศการ When Snowflakes Fall เมื่อหิมะร่วงหล่น

10 ทักษะที่ตลาดต้องการ ในขณะนี้

ทักษะที่ตลาดต้องการ ในขณะนี้ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากถ้าเทียบกันในทศวรรษนี้กับทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีการแข่งขันกันสูงมากในเรื่องของบุคคลากร นำมาซึ่งตลาดฟรีแลนซ์ที่ใหญ่ และมีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งวันนี้ผมหยิบทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดในยุคสมัยนี้มาแบ่งปันกันครับ ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก Snoolik เว็บไซต์ที่เป็นเทรนด์ในการทำเว็บไซต์ครับ

Popular Categories

Comments

Leave a Reply